วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมาย

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

ประวัติความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประวัติและความเป็นมา

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙) ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข สังคมมีความเข้มแข็ง และประเทศชาติมั่นคงอย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนและมีการตีความที่หลากหลายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อ ความคิดและเชื่อมต่อการขยายผล แนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การนำหลักปรัชญาฯไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง

หลักแนวคิดทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดทฤษฎี

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ .....การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการตัดสินใจ และการกระทำ


“ถ้าพอมีพอกิน คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น
ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน.
สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน
แต่ว่าค่อยๆพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน
มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน
หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง
จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง
เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้.”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่มบริโภค และมีข้อสมมติว่ามีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัวอย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้น ฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำ ให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริงความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

ประโยชน์และความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์และความสำคัญ

1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเอง
ได้ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าแล้งมีน้ําน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้
โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปีทฤษฎีใหม่น้ำก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ํารวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการ
ไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

การนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การเพาะเห็ดลมและเห็ดขอนขาว

วัสดุอุปกรณ์

1. อาหารเพาะ
2. หัวเชื้อเห็ดลมและเห็ดขอนขาว
3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7"x13" 8"x13" หรือ 9"x13" ฯลฯ
4. คอพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว
5. สำลี ยางรัด
6. ถังนึ่งไม้อัดความดัน
7. โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใย และเปิดดอก

อาหารเพาะ

สูตรที่ 1
ขี้เลื่อยแห้ง (ไม้ยางพารา, ไม้มะขามฯลฯ) 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม
ปูนขาว หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต หรือยิปซั่ม 0.5-1 กิโลกรัม
น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
ผสมน้ำ ปรับความชื้น 50-55 กิโลกรัม
สูตรที่ 2
ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม
แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน
กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับรำละเอียด 3 กิโลกรัม
น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม
ปรับความชื้นประมาณ 50-55 เปอร์เซ็นต์

วิธีเพาะ

1. บรรจุอาหารเพาะลงในพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น สูงประมาณ 2/3 ของถุง
2. รวบปากถุง สวมคอพลาสติก พับปากถุงลงมา ดึงให้ตึง รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้มทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบพลาสติก
3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่งโมง จากนั้นทิ้งให้เย็น
4. นำถุงพลาสติกที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว มาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ โดยทั่วไปจะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง เขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก และใส่ลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 15-20 เมล็ด โดยปฏิบัติในที่สะอาดไม่มีลมโกรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและแมลง
5. นำไปวางในโรงเรือนหรือสถานที่สำหรับบ่มเส้นใย อุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญ

การเจริญของเส้นใยเห็ดลม

เส้นใยเห็ดลมใช้เวลาในการเจริญเต็มอาหารเพาะน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ประมาณ 30-35 วัน จากนั้นเส้นใยจะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีส้ม
จนถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ โดยเฉพาะเมื่อถูกอากาศและแสงระยะเวลาการเจริญทางเส้นใยจนเริ่มให้ดอกเห็ด ขึ้นกับสายพันธุ์ โดยเฉลี่ยใช้เวลา
ประมาณ 80-90 วัน

การเปิดถุงและการกระตุ้นให้เกิดดอก

เปิดจุกสำลี หรือตัดปากถุง วางในโรงเรือน ให้ความชื้นโดยการให้น้ำในโรงเรือนและบริเวณก้อนเชื้อ ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ปรับโรงเรือนให้มีสภาพร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มงอก จากนั้นปรับอุณหภูมิในโรงเรือน
ให้ลดลงมีอากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพันธ์ 60-70% มีแสงสว่างปานกลางเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตต่อไป ในระหว่างให้ผลผลิตแต่ละครั้งเส้นใยเห็ดลมจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน ส่วนเห็ดขอนขาวจะทยอยให้ผลผลิต

การเก็บดอกเห็ด

ควรเก็บส่วนต่างๆของดอก ให้หลุดออกจนหมด เพื่อป้องกันการเน่าเสียจากเศษหรือส่วนของดอกเห็ดที่เหลือติดค้างอยู่ที่ก้อนเชื้อ ขนาดของดอกเห็ดที่เก็บขึ้นกับความต้องการของผู้เพาะ ดอกเห็ดอ่อนจะมีราคาสูงกว่าดอกเห็ดที่บานเต็มที่ และมีความเหนียวน้อยกว่าเห็ดบาน

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การไป Field trip ที่ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงที่ ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

สรุปการไป Fild Trip ที่จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา 0๗.00 น. ทุกคนได้มารวมกัน
เพื่อจะไปเรียนรู้นอกสถานที่พอทุกคนมาครบก็ได้นำกระเป๋าเสื้อผ้าไปไว้บนรถพอเสร็จ
ก็ขึ้นรถหาที่นั่งรถของพวกผมออกคันสุดท้ายรถก็ได้ขับไปเลื่อยๆจนถึงจังหวัดเชียงใหม่
ก็ได้แวะปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งพวกผมก็ได้ลงไปเข้าห้องน้ำพอเสร็จก็ไปซื้อขนมในเซเว่น
เสร็จแล้วก็มาขึ้นรถจนรถออกไปเลื้อยๆจนถึงเวลา 0๙.๓0 น. ก็ได้ถึงศูนย์ศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียงทุกคนก็ได้ขนกระเป๋าเสื้อผ้าลงจากรถไปวางที่โต๋ะที่ศูนย์จัดเตรียมให้
จนเสร็จก็ไปนั่งที่ลานกิจกรรมแล้วก็มีการเปิดพิธีขึ้นพวกเราก็ได้ฟังท่านประทานกล่าวโอวาส
จนเสร็จก็มีกิจกรรมที่พวกพี่ในศูนย์ฯได้จัดไว้พวกเราทุกคนสนุกสนานกันใหญ่พอทำกิจกรรม
เสร็จก็ได้ไปเข้าแถวเพื่อฝึกระเบียบครูฝึกได้ฝึกการเดินแบบพร้อมกันการยืนตรงการเลิกแถว
การยืนแบบตามสบายระเบียบพักการพักในแถวครูฝึกได้สอนท่าพวกนี้ไปเลื่อยๆจนถึงเวลา
๑๑.๓0 น. ครูฝึกก็ปล่อยไปพักแล้วไปทานอาหารกลางวันก่อนจะทานต้องท่องคำปฏิญาณ
ตนพอท่องเสร็จก็ทานอาหารอย่างอร่อยพอทานเสร็จครูฝึกก็พาพวกเรานำกระเป๋าเสื้อผ้าไป
เก็บที่พักพอเสร็จพวกพี่ๆก็เรียกออกมาเข้าแถวเพื่อไปอาคารนิทรรศการของศูนย์ฯพอไปถึง
ก็เข้าไปในห้องนิทรรศการเพื่อชมวีดีทรรศพอเสร็จก็ขึ้นไปจดงานที่ข้างบนอาคารนิทรรศการ
พอจดเสร็จก็ไปดูการเพราะเห็ดเขาก็จะบอกว่าเห็ดแต่ละชนิดมีประโยชน์อะไรบ้างและก็บอก
การเพราะเห็ดพอเสร็จพี่เขาก็พาไปดูการทำปู๋ยหมักและวิธีการทำแล้วพาไปดูหมูหลุม,กบคอนโด
และการเพราะราจากข้าวพอเสร็จครูก็ปล่อยพวกผม ผมก็ได้นำสมุดปากาไปเก็บในที่พักแล้วก็
ออกมาเล่นบอลจนถึงเวลา ๑๗.๓0 น. ครูฝึกก็เรียกไปทานอาหารเย็นพอทานอาหารเสร็จ
ก็ไปอาบน้ำแต่งตัวครูฝึกบอกให้มาพบกันเวลา ๑๙.๓0 น. พวกผมได้นอนเล่นอยู่บนห้องจน
ถึงเวลา ๑๗.๓0 น. ผมก็้ไปลานกิจกรรมเพื่อทำกิจกรรมจนถึงเวลา ๒๑.๓0 น. ก็ได้เข้านอน
วันที่ ๒ ตอนเช้าก็ได้ลุกขึ้นมาออกำลังกายจนถึงเวลา 0๗.00 น. ก็ได้บำเพ็ญประโยชน์
จนถึงเวลา 0๗.๓0 น. ก็ได้ไปรับประทานอาหารเช้าจนเสร็จแล้วได้ไปตั้งแถวเพื่อจะไปปลูกข้าวพอไปถึงพี่เขายังไม่ให้ปลูกเขาได้เอาควายมาแสดงจนเสร็จก็ไปปลูกข้าวพอเสร็จครูฝึกก็ให้ไปเก็บกระเป๋าเสื้อผ้าพอเสร็จก็ไปทดสอบกำลังใจก็จะมีเป็นด่านพอทดสอบกำลังใจเสร็จก็ไปอาบน้ำแต่งตัวจนเสร็จก็ไปนั่งที่ลานกิจกรรมเพื่อจะทำพิธีปิดพอทุกคนมาครบก็ได้ทำพิธีปิดพอเสร็จก็ได้ขนของขึ้นรถใครรถมันก่อนรถจะออกผมก็ได้ไหว้พระก่อนกลับแล้วรถก็ออกไปจนถึงบ้าน